Eat Fun Travel Latest view Top view
Thumbnail imgxs

โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ ขณะนี้อยู่ในช่วงการออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารประกอบอื่นๆ พร้อมงานสถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยการผสมผสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ โดยอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมพี่น้องชาวบึงกาฬ

23 สิงหาคม 2566  นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ ว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารประกอบอื่นๆ พร้อมงานสถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยการผสมผสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นของจังหวัดบึงกาฬ โดยอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมพี่น้องชาวบึงกาฬ




โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ

ท่าอากาศยานบึงกาฬ เป็นโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งแรกและจะเป็นท่าอากาศยานที่ทันสมัยที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยและในจังหวัดบึงกาฬ[1] ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการก่อสร้างจากทางรัฐบาล โดยพลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้เสนอแผนการจัดสร้างท่าอากาศยานแห่งแรกในจังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ในโอกาสที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดอุดรธานี เพื่อประชุมการดำเนินงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
สถานที่ตั้งท่าอากาศยานบึงกาฬ
โครงการท่าอากาศยานบึงกาฬ ตั้งอยู่ที่ ตำบลโป่งเปือย และตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ อยู่ระหว่างทางหลวงชนบทหลายเลข บก.3013 และทางหลวงเชื่อมโยงจังหวัดอุดรธานี - บึงกาฬ (เส้นทางในอนาคต)
 
สนามบินอยู่ห่างจากตัวเมืองและสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 5 (อยู่ระหว่างการก่อสร้ง) ประมาณ 12 กิโลเมตร
 
พื้นที่สนามบินประมาณ 4,400 ไร่ 
 
เขตการบิน (Air side)
พื้นที่ปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย ทางวิ่ง (runway) และทางขับ (taxiway) 
พื้นที่นอกเขตปฏิบัติการบิน ประกอบด้วย ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารผู้โดยสาร และลานจอดอากาศยานประชิดอาคารคลังสินค้า 
 
เขตนอกการบิน (Land side)
ประกอบด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนปฏิบัติการการบินเบื้องต้น ประกอบด้วย หอบังคับการบิน สถานีกู้ภัยและดับเพลิง หออุตุนิยมวิทยา อุปกรณ์ช่วยเดินอากาศ คลังเชื้อเพลิงอากาศยาน อาคารผู้โดยสารและองค์ประกอบ และอาคารคลังสินค้า
 
ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ประกอบด้วย ระบบถนน พื้นที่จอดรถ ระบบระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วม การจัดการกากของเสีย ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันภัย และแผนกฉุกเฉิน พื้นที่สีเขียว และระบบถนนเส้นทางเข้า-ออก
 
 
คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ปี 2572 
 
*อิงจากประมาณการปริมาณผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบิน เริ่มปี 2572
 
คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบิน 30 ปี (2572-2602) 
2572 จำนวนผู้โดยสาร 149,172 คน/ปี  เที่ยวบิน 1,244 เที่ยว/ปี
2577 จำนวนผู้โดยสาร 174,045 คน/ปี  เที่ยวบิน 1,452 เที่ยว/ปี
2582 จำนวนผู้โดยสาร 203,451 คน/ปี  เที่ยวบิน 1,696 เที่ยว/ปี
2587 จำนวนผู้โดยสาร 241,987 คน/ปี  เที่ยวบิน 2,018 เที่ยว/ปี
2592 จำนวนผู้โดยสาร 296,065 คน/ปี  เที่ยวบิน 2,468 เที่ยว/ปี
2597 จำนวนผู้โดยสาร 375,270 คน/ปี  เที่ยวบิน 3,128 เที่ยว/ปี
2602 จำนวนผู้โดยสาร 494,254 คน/ปี  เที่ยวบิน 4,120 เที่ยว/ปี
 
 
 
 
แผนการดำเนินงาน 

ปี 2564 ศึกษาความ เป็นไปได้ ในการก่อสร้าง ทำาอากาศยาน บึงกาฬ   

ปี 2565 ออกแบบ รายละเอียด ผังแม่บท ทางวิ่ง ทางขับๆ การศึกษา และจัดทำรายงาน การประเมิน ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EA)  การดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน   -- ตำแหน่งที่ตั้ง ท่าอากาศยาน ที่เหมาะสม

ปี 2566-2567 ยื่นเพื่อพิจารณาและเห็นชอบรายงาน EA ออกแบบ รายละเอียด อาคารที่พัก ผู้โดยสารหลังใหม่ และเปลี่ยนแปลง รายละเอียดโครงการในรายงาน การประเมิน ผลกระทบ สิ่งแวตล้อม   -- ผังแม่บท ท่าอากาศยาน และกรอบราคาก่อสร้าง

ปี 2567 เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอ อนุมัติตำเนินโครงการและออกพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.)   

ปี 2568 จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 

ปี2569-2572 งานก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ   

ปี 2572 เปิดใช้งานท่าอากาศยานบึงกาฬ

ประโยชน์จากโครงการ

 เพิ่มความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาด้านคมนาคมและการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นต้น
 
 
ส่งเสริมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ (East West Economic Corridor : เนวตะวันออก - ตะวันตก EWEO):ให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการค้าขายแดนระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับแขวงบอลิคำไซ ที่สนับสนุนและสร้างระบบเศรษฐกิจ สปป.ลาว ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของจังหวัด
 
 
ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ป็งกาฬ เช่น โครงการสะพานที่กำลังจะเกิดขึ้นในจังหวัด มิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) และ โครงการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ
 
 
ลดระยะเวลาการเดินทางและขนส่ง เพื่อประโยชน์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจภายในจังหวัด ส่งผลให้มีเมืดเงินทั้งจากด้านการท่องเที่ยว ด้านการค้าและการลงทุน เข้าสู่พื้นที่และกระจายไปสู่ภาคประชาชนอย่างทั่วถึง
image ext
image ext
 

12 Roadmap สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดบึงกาฬ

image ext
image ext
12Roadmap สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดบึงกาฬ นำโดยนายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ  ด้วยเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ 20 ปี "จังหวัดบึงกาฬ เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมยางพารา การเกษตรก้าวหน้า ประตูการค้าอินโดจีน ท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง ประชาชนคุณภาพชีวิตดี เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน"

12Roadmap

1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร
3. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการตลาดสินค้าเกษตร
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและการบริการรองรับเมืองเศรษฐกิจชายแดน
5. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งชันประกอบธุรกิจการค้า การลงทุน การบริการ และกาคอุดสาหกรรม
6. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน
7. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
8. การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยด้านความมั่นคง
9. การพัฒนาคนบึงกาฬสู่สังคมคุณภาพ
10. พัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัดกรรม การบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21
11. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) หน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดบึงกาฬ
12. การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY)

New stories

all : eat | fun | travel | cannabis

Latest view

มีเรื่องอยากเล่า มีร้านอยากอวด มีกิจกรรมเด็ดๆ อยากโปรโมทเชิญชวน ส่งเรื่อง/ภาพมาที่ eatfuntravel.com@gmail.com