Eat Fun Travel Latest view
Thumbnail imgxs

จากสถานการณ์อุทกภัย ช่วงระหว่างวันที่ 16-22 สิงหาคม 2567 มีฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในหลายจังหวัดภาคเหนือ ราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 15,000 ครัวเรือน บ้านเรือนได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมขังบ้านเรือนรวมทั้งพื้นที่การเกษตรและสิ่งสาธารณประโยชน์ได้รับผลกระทบจำนวนมาก

 

👍 23 สิงหาคม 2567 ร่วมบริจาคเพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5 จังหวัดในภาคเหนือ

image ext
image ext
ThaiPBS รวบรวมข้อมูลการช่วยเหลือ น้ำท่วมภาคเหนือ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย เปิดรับข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม เงินทุน ยารักษาโรค แนะตรวจสอบก่อนบริจาคป้องกันมิจฉาชีพสวมรอย องค์กรหน่วยงานรับบริจาค ดังนี้
  • สภากาชาดไทย บริจาคผ่านบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย  ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ” ประเภทบัญชี “กระแสรายวัน” เลขที่บัญชี 045-3-04637-0 กรณีการโอนเงิน-หากประสงค์รับใบเสร็จรับเงิน แจ้งชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล ระบุ “เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” พร้อมแนบสลิปการโอนเงินบริจาคอีเมล์ donation@redcross.or.th โทรสาร 02-250-0312 หรือ Line : @redcrossfund
  • โรงพยาบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย  ขอบริจาคผ้าอ้อมสำเร็จรูป-ยา เงินบริจาค (โอนเข้าบัญชีธนาคาร รพ.เวียงแก่น) เพื่อนำไปจัดซื้อ Syring driver ให้ผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายที่ได้รับยาทางใต้ผิวหนัง เช่น คนไข้โรคมะเร็ง (ปกติผู้ป่วยและญาติต้องซื้อเอง ออกค่าใช้จ่ายเอง แต่ รพ.เวียงแก่น ช่วยกันระดมทุนให้คนไข้นำไปใช้ที่บ้านในระยะสุดท้าย) ติดต่อไพลิน สาระมนต์ สกุลนิธิเมธา เภสัชกรชำนาญการ รพ.เวียงแก่น 084–169-3886
  • มูลนิธิสยามเชียงราย (สำนักงานใหญ่) เปิดรับบริจาคน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง จำนวนมาก เพื่อนำไปให้พี่น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัย หากท่านใดสนใจร่วมบริจาค สามารถนำไปมอบได้ที่มูลนิธิสยาม (สำนักงานใหญ่) ห้าแยกพ่อขุน ติดกับร้านเชียงรายอะไหล่ยนต์ โทรศัพท์ 087-008-2688 กรรมการมูลนิธิ ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์ ชื่อบัญชีมูลนิธิสยามเชียงราย เลขที่ 020193677375
  • มูลนิธิกระจกเงา  เปิดร่วมบริจาคสิ่งของเหลือใช้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้เดือดร้อนในยามวิกฤติน้ำท่วม มูลนิธิกระจกเงาเลขที่ 191 ซอยวิภาวดีรังสิต 62 แยก 4-7 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210 โทร.06-1909-1840, 06-3931-6340 และที่ว่าการ อ.เทิง 053-795-502 
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.น่าน และ จ.แพร่ บริจาคได้ที่ชั้น 1 อาคารภูมิราชภัฎวิทยาลัยน่าน ตั้งแต่วันนี้-31 ส.ค.นี้ โทรศัพท์ 055-416-601 ต่อ 1692
  • ศูนย์การเรียนธรรมชาติห้วยพ่าน ต.เบือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน ต้องการขอความช่วยเหลือด้านปัจจัย 4 ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม และงบประมาณบริจาคสมทบทุน เพื่อใช้ซื้อน้ำมันในการปั่นไฟสำรอง   ส่งที่ศุภมาส พันธะยอด 124 หมู่ 4 ต.เปือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน 55160 โทรศัพท์ 098-460-8576 สมทบทุนที่บ้านห้วย ผ่านธนาคาร ธกส.สาขาทุ่งช้าง เลขที่บัญชี 020048970869
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของและปัจจัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดน่าน รับบริจาค สามารถบริจาคได้ที่น้ำดื่ม อาหารแห้ง ยารักษาโรค ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2 ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (เด็ก/ผู้ใหญ่) เครื่องเขียน เปิดรับบริจาคอุปกรณ์การเรียน ตั้งแต่วันนี้ -31 ส.ค.นี้  สำหรับผู้ประสงค์บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถบริจาคได้ที่ เลขที่บัญชี 430-190804-4 ชื่อบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยผู้ประสบอุทกภัย จังหวัดน่าน
  • มทร.ล้านนา เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายและน่านและเปิดรับบริจาคสิ่งของ ข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค  หรือร่วมบริจาคเงินได้ที่ ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 507-1-87015-0 ชื่อบัญชี มทร.ล้านนา น่าน (เงินทำบุญราชมงคลน่าน) และมทร.ล้านนา เชียงราย สามารถสแกน QR Code ด้านล่างนี้ 
       • ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม มทร.ล้านนา น่าน โทร 083-7643085และ 081-8312803
       • ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม มทร.ล้านนา เชียงราย โทร 082-780-1043
  • สมาคมสว่างนครน่านรวมใจ ข อเรียนเชิญผู้ใจบุญร่วมบริจาค
    ข้าวสารอาหารแห้งน้ำดื่มไข่ไก่หรือทุนทรัพย์ในการนำไปซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย และกิจกรรมอันเป็นสาธารณะกุศล ได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาน่าน เลขที่บัญชี 020393085004 ชื่อบัญชี สมาคมสว่างนครน่านรวมใจ หรือสามารถบริจาคได้ที่ สมาคมสว่างนครน่านรวมใจ ตั้งอยู่ที่ ถนนเจ้าฟ้า ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน
  • ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ขอเชิญบริจาค สิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย อุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน บริเวณหน้ามุขศาลากลางจังหวัดน่าน  ต้องการเป็นอาหาร วัตถุดิบ สด ที่สามารถนำไปบริจาคพื้นที่ท้องถิ่นที่ตั้งโรงทานได้เลย  
  • มูลนิธิเพชรเกษมน่าน เปิดรับบริจาค ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม  ท่านใดมีความประสงค์จะมอบ นำมามอบได้ที่สำนักงานมูลนิธิเพชรเกษมน่าน (สนง.ใหญ่ท่าวังผา)  หรือโอนเงินเข้าบัญชี #บัญชีธนาคารกสิกรไทย " เลขที่บัญชี 137-1-22257-6  "  "ชื่อบัญชีมูลนิธิเพชรเกษมน่าน"  #บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ " เลขที่บัญชี 732-3-008412 "  "ชื่อบัญชีมูลนิธิเพชรเกษมน่าน
  • วัดดอนมูล ประกาศรับบริจาคน้ำดื่ม อาหาร ข้าวสาร เพื่อแจกจ่ายประชาชน ตั้งโรงทาน ณ วัดดอนมูลใต้ ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน วันที่ 22 สิงหาคม เป็นต้นไป ผู้ใดประสงค์ร่วมบริจาคได้ที่ วัดดอนมูล  ธ.กรุงไทย สาขาน่าน เลขบัญชี 507-072989-6



23 สิงหาคม 2567 อัพเดทสถานการณ์

        อัพเดทสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่เฝ้าระวังคืออำเภอเมือง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วมสูง อำเภอเวียงสา พื้นที่รับน้ำ ต้องเฝ้าระวังมวลน้ำขนาดใหญ่ ขณะที่ฝนตอนเหนือหยุดตกแล้ว

         ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วันที่ 20 - 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่จังหวัดน่าน มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 11 อำเภอ 56 ตำบล 313 หมู่บ้าน
น้ำได้ท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจสูงมาก วัดมิ่งเมือง  สถานีขนส่ง วัดพันต้น สี่แยกข่วงเมือง น่าน น้ำท่วมสูง 
 
         นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้มอบหมายให้นายกฤขเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน หัวหน้าสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน และสาขาลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ที่ประสบภัยอุทกภัย พร้อมอบสิ่งของเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัย
โดยมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 
  • ให้ฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม โดยอย่าให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน
  • กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการทุกหน่วยงาน ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อจัดทีมช่างในพื้นที่เป็นทีมประชารัฐ และเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว
  • กรณีเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย จนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคมนาคม จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจรแนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัยรวมทั้งจัดป้ายแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ หลังจากนั้นให้เร่งซ่อมแชมเส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว
  • ให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ควบคุม กำกับดูแล การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจมากับสถานการณ์อุทกภัยอย่างทั่วถึง
  • เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
  • ประกาศแจ้งเตือน ให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ โดยขอให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และกำชับให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุของหน่วยงาน เตรียมความพร้อมทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือ ยานพาหนะเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ 
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติ เตรียมความพร้อมในการส่งสัญญาณแจ้งเตือนตามหอเตือนภัยในพื้นที่เสียง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดำเนินการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ให้อำเภอเร่งสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นไปอย่างทั่วถึงประชาชนจิตอาสา อาสาสมัคร ภาคเอกชนเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบสาธารณภัย


        นอกจากนี้ มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม เข้าช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นพื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.ท่าวังผา โดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ รถยนต์เคลื่อนที่เร็ว รถบรรทุก 8 คัน เรือท้องแบนพร้อมเครื่อง 10 ลำ กำลังพล40 คน รถประกอบอาหารเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 2 แห่ง  หน่วยทหาร ตำรวจ อำเภอ อปท. 
 
        มูลนิธิร่วมกตัญญู เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 30 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ประกอบอาหาร 1 คัน มูลนิธิสว่างรวมใจ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือพร้อมโรงครัวประกอบอาหารบริเวณสี่แยกพันตัน อ.เมืองน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 20 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ
 
         กระทรวงพรัพยากรรรมชาติและสิ่งเวคล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ



         ระดับน้ำจากศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน 
สถานีตรวจวัด N.64 บ้านผาขวาง อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 10.30 ม. มีแนวโน้มลดลง ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.1 บริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 8.49 ม. (มีแนวโน้มลดลง. ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.75 สะพานท่าลี่ อ.เวียงสา ระดับน้ำ 7.68 ม. (ระดับตลิ่ง 1.1ม.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
 
        คาดการณ์สถานการณ์โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2567 ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำตามแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสายรอง มีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

         เส้นทางการคมนาคม ทางหลวง หมายเลข 1169 ตอนเส้นทาง ท่าล้อ-เมืองหลวง นำท่วมสูง รถไม่สามารถสัญจรได้ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงหมู่บ้านของทางหลวงชนบทแทน  
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน-ข่าว

รัฐบาลมอบถุงยังชีพเบื้องต้น จำนวน 11,932 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบอุทกภัย จ. เชียงราย และน่าน

 
        23 ส.ค. 67 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ติดตามการเร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือขณะนี้ ได้รับรายงานโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีว่าได้ดำเนินการจัดหาถุงยังชีพ จำนวน 11,932 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยในเบื้องต้นแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการทยอยจัดส่งถุงยังชีพเพื่อแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดอื่น ๆ และจะทยอยความช่วยเหลือเพิ่มเติมลงไปในพื้นที่  เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการประเมินความเสียหายทรัพย์สิน บ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร เพื่อเยียวยาประชาชนต่อไป ประชาชนสามารถแจ้งเหตุหรือขอความช่วยเหลือได้ที่ ปภ. จังหวัดหรือสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ 24 ชม.

22 สิงหาคม 2567 รัฐบาลตั้งวอร์รูม 10 หน่วยงานเร่งช่วย

        22 สิงหาคม 2567) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ ชั้น 3 อาคาร 99 ปี อาคารหม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน (สามเสน) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
นายภูมิธรรมฯ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมฉุกเฉิน สืบเนื่องจากภาคเหนือเกิดอุทกภัย ฝนที่ตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าเป็นห่วง ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่เมื่อคืนได้มีการดำเนินการทำงานและสั่งการไปหมดแล้ว การประชุมในครั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ซึ่งยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ มีความเป็นห่วงและได้กำชับช่วยดูแลพี่น้องประชาชนที่กำลังประสบภัย
 
        ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บรรยายการสรุปสถานการณ์น้ำ  โดยนายภูมิธรรมฯ กล่าวว่าวันนี้ขอให้มุ่งไปยังภาคเหนือในจุดที่น้ำท่วม เช่น จังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา เป็นต้น เพื่อหาแนวทางคลี่คลายปัญหาโดยเร็ว โดยได้มอบนโยบายและสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้  
 
        1. กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดให้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันฯ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ ในการปฏิบัติการของจังหวัดนั้น ๆ รวมทั้งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเครื่องมือเข้าไปช่วยระบายน้ำเร็วที่สุด ส่วนกรมทรัพยากรน้ำ ให้เตรียมข้อมูลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา รวมทั้งจัดรถโมบายเข้าไปยังจุดน้ำท่วมหนัก จัดทำเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงานราชการต่าง ๆ และส่วนกลาง 
 
        2. กระทรวงศึกษาธิการ ให้พิจารณาปิดโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการปิดการเรียนการสอนชั่วคราว โดยให้ดูตามสถานการณ์ตามจริงในพื้นที่ เน้นความปลอดภัยของนักเรียนเป็นสำคัญ
 
        3. กระทรวงมหาดไทย ให้ประสานขอความร่วมมือจากกองทัพภาคที่ 3 นำเครื่องมือ และกำลังพล พร้อมช่วยเหลือประชาชน
 
        4. กรมชลประทาน ให้ตรวจสอบประตูระบายน้ำต่าง ๆ ในทุกพื้นที่ตั้งแต่พื้นที่ด้านบน-ล่าง หากพบปัญหาให้รีบแก้ไข
 
        5. สทนช. ให้นำโดรน รถโมบาย สำรวจข้อเท็จจริง  เพื่อใช้ประเมินข้อมูลเหตุที่มีความรุนแรงวิกฤติ ให้ได้ตรงจุดที่สุด และสามารถแก้ไขปัญหาตรงนั้นได้อย่างดีและเร็วที่สุด
 
        6. กระทรวงคมนาคมให้ตรวจดูเส้นทาง ถนนที่กั้นขวางทางน้ำหลาก ให้พิจารณาเจาะถนนปล่อยน้ำไหลต่อไปได้ และขอให้แจ้งการดำเนินการให้หมู่บ้านที่อยู่ปลายน้ำรับรู้สถานการณ์ด้วย
 
        7. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูตามเงื่อนไขตามแนวสันป่าอยู่แล้ว และให้เร่งเข้าดำเนินการช่วยเหลือประชาชน 
 
        8. กระทรวงสาธารณสุข ขอให้ลงพื้นที่เข้าไปดูแลประชาชน ที่อาจได้รับความเจ็บป่วย ต้องการความช่วยเหลือสุขภาพและสาธารณสุข 
 
        9. กระทรวงพาณิชย์ ให้ดูแลเรื่องราคาอาหาร ข้าวของต่าง ๆ ไม่ให้มีราคาแพง ผู้บริโภคต้องมีของกินของใช้ตลอดเวลา 
 
        10. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทันที  และติดตามช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ด้วย

พะเยา

21  สิงหาคม 2567 

     ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดพะเยา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ ทั้งในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้  อำเภอภูกามยาว อำเภอจุน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองดอกคำใต้ น้ำจากลำน้ำร่องช้าง ได้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ในเขตชุมชนเทศบาลเมืองดอกคำใต้ เป็นวงกว้างมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสถานการณ์น้ำท่วมในรอบที่ 4 และถือว่ามีปริมาณน้ำมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา นอกจากนั้น น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่บริเวณต้นน้ำร่องช้าง ในตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ กว่า 7 หมู่บ้าน
        สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา ได้สรุปสถานการณ์เบื้องต้นของเหตุการณ์น้ำท่วม ในจังหวัดพะเยาล่าสุดมี  6 อำเภอ 12 ตำบล 46 หมู่บ้าน 15 ชุมชน  และมีผู้ได้รับผล กระทบจำนวน 3,400 ครัวเรือน 11,200 คน  
       อ.เชียงม่วน ถูกกระแสน้ำยมพัดผ่านน้ำป่าไหลทะลักท่วมในหลายตำบลทำให้สะพานตอม่อสะพานข้ามลำน้ำยมระหว่างอำภอดอกคำใต้ อำเภอปง-อำเภอเชียงม่วนชำรุดต้องปิดกการจราจรห้ามรถข้าม ล่าสุดนายอำเภอเชียงม่วนพร้อมทีมกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ ปภ.จ.พะเยา ทต.เชียงม่วน ทหาร ร.17 ลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือทั้งคนที่ติดในบ้านกำลังทะยอยออกมา ส่วนระดับน้ำยังต้องเฝ้าดูทุก ระยะ โดยกำหนดจุดพักพิงที่อำเภอ/เทศบาล โดยมีผลกระทบ 3 ตำบล20หมู่บ้าน 1,000ครัวเรือน
        อ.ปง น้ำยมและน้ำงิมไหลท่วมใน 7 ตำบล พบชาวบ้านติดอยู่ทั้งในบ้านและกลางกระแสน้ำโดยเฉพาะบ้านแสะ ล่าสุดเจ้าหน้าที่กู้ภัยและชาวบ้านได้ใช้โดรนตัวใหญ่บินเอาเชือกให้หลังจากนั้นได้ทำการดึงเข้าฝั่งเป็นที่เรียบร้อย แต่นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ายังพบคนติดอยู่กลางกระแสน้ำป่าทั้งในบ้านและนอกบ้าน ซึ่งเวลานี้ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยในหลายพื้นที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือแล้ว ส่วนถนนหลายสายถูกน้ำท่วมรวมทั้งบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร มีผลกระทบ7ตำบล89หมู่บ้าน ประมาณ 2,000ครัวเรือน
        อ.เชียงคำ ได้รับผลกระทบน้ำป่าเข้าท่วมทั้ง ต.แม่ลาว ต.ฝายกวาง ต.เวียง ต.เจดีย์คำ และ ต.ร่มเย็น น้ำได้ไหลมาอย่างรวดเร็วทำความเสียหายในหลายจุด นายอำเภอสั่งการให้การช่วยเหลือและเร่งติดตามสถานการณ์น้ำท่วมทุกระยะ รวมทั้งเฝ้าติดตามระดับน้ำลาวบริเวณตลาดเชียงคำ และบ้านล้า ต.เวียง อย่างใกล้ชิด
        อ.ภูซาง น้ำป่าได้ไหลท่วม ทั้ง 5 ตำบล หนักสุดมี ต.ภูซาง ทุ่งกล้วย เชียงแรงและสบบง สถานการณ์ในช่วงเย็น ต.เชียงแรงพบชาวบ้าน 1 รายพร้อมวัว 4 ตัวติดกลางกระแสน้ำป่าล่าสุดทาง อส.ภูซางได้ลงไปช่วยและพาเดินขึ้นฝั่งได้สำเร็จ โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ5ตำบล61หมู่บ้าน และอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
        อำเภอดอกคำใต้ เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากจากอ่างเก็บน้ำร่องสักไหลตามลำห้วยร่องช้างเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตร ในพื้นที่ 6 ตำบล 39หมู่บ้าน26ชุมชน โดยวันนี้นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยทหารจาก นพค. 35 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ทำการปกครองอำเภอ และ  อปท.ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และให้ความช่วยเหลือขนของขึ้นสู่ที่สูงและอพยพประชาชนและจะได้สำรวจความเสียหายต่อไป
        อ.เมืองพะเยาได้เกิดเหตุฝนตกหนัก ทำให้มีน้ำป่าไหลหลากและเอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 12 ตำบล 46 หมู่บ้าน 15 ชุมชน โดยมีผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 400 ครัวเรือน
        นายบำรุง  สังข์ขาว  รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยทุกหน่วยงานในพื้นที่ ก็ได้นำสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ไปมอบให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ด้วย  พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจบ้านเรือน ทรัพย์สินพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อพิจารณาเร่งให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของทางราชการต่อไป
        การลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ หมู่ที่10 ตำบลบ้านปิน และเร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย รวมถึงการอพยพเคลื่อนย้ายประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย จาก หมู่ที่ 1,4,7และหมู่ที่10 ตำบลบ้านปิน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ และคนพิการ รวม9ราย ให้ไปพักยังศูนย์เด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปิน และอบต.บ้านปิน ได้มีการจัดหาเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่นอน และการปฐมพยาบาล แก่ผู้ประสบภัยเบื้องต้นแล้ว


22 สิงหาคม 2567

      นายรัฐพล  นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน และอำเภอดอกคำใต้ พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา มณฑลทหารบกที่ 34 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพะเยา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา สำนักงานชลประทานจังหวัดพะเยา นายอำเภอดอกคำใต้ นายอำเภอเชียงม่วน พร้อมด้วยปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ พร้อมมอบน้ำดื่มสะอาด เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่นอน และการปฐมพยาบาล ตลอดจนยารักษาโรค แก่ผู้ประสบภัยในในเบื้องต้นแล้ว
       ขณะที่เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา   พล.ท. ประสาน แสงศิริรักษ์  แม่ทัพภาคที่  3  ได้นำกำลังพล ทหารจิตอาสาพระราชทาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ฝ่ายปกครองจังหวัดพะเยา ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองพะเยา ปลัดจังหวัดพะเยา และนายกเทศมนตรีเมืองพะเยา ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจชาวบ้านเขตชุมชน  ตำบลแม่ต๋ำ  อำเภอเมือง ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือน   และได้มอบหมายให้พลตรีสมจริง กอรี ผบ.มทบ. 34 นำกำลังพลกว่า 50 นาย นำกระสอบทราย ทำแนวปิดกั้นน้ำท่วมขังให้ชาวบ้าน 

น่าน

21 สิงหาคม 2567

         ฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2567 จังหวัดน่าน ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หลายอำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา  อำเภอบ้านหลวง อำเภอเวียงสา และอำเภอนาน้อย น้ำได้ท่วมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างในหลายอำเภอ เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตร สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับประชาชนจำนวนมาก
       มวลน้ำขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่อำเภอเมืองน่าน คาดว่าจะเกิดน้ำล้นตลิ่ง พื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 22:00 น.ของวันที่ของวันนี้ (21 สิงหาคม 2567)

      แขวงทางหลวงน่านที่ 2 โดยหมวดทางหลวงท่าวังผา ขอรายงานสถานะการณ์ฉุกเฉิน ทางหลวงหมายเลข 101 ระดับน้ำ การสัญจร 

      เวลา 18.10 น. เทศบาลเมืองน่าน  ประกาศเตือนภัย เนื่องด้วยมีฝนตกสะสม ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน ลำน้ำสาขา ลำน้ำห้วยลี่ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เครื่องสูบน้ำ ณ คลองเจ้าฟ้า อาจจะระบายน้ำปริมาณมากในตัวเมืองไม่ทัน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมในที่ลุ่มต่ำ ขอให้ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่านที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะชุมชนที่เคยประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อปี พ.ศ.2554 เก็บข้าวของเครื่องใช้ขึ้นบนที่สูง และเตรียมอาหาร+น้ำดื่ม+ยารักษาโรค ให้พร้อม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สายด่วน โทร. 199   054-710508 / 054-711014 Facebook เทศบาลเมืองน่าน




       NBT Connext พ่อเมืองน่าน ลงพื้นที่น้ำท่วม เผย มวลน้ำขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนตัวเข้าอำเภอเมืองน่าน หลายพื้นที่ระดับน้ำสูงขึ้น อำเภอท่าวังผาเข้าสู่วิกฤต น้ำทะลักท่วมบ้านเรือนรวดเร็ว ชาวบ้านเก็บของหนีน้ำกันไม่ทัน สั่งทุกส่วนฝ่ายระดมกำลังช่วยเหลือประชาชนเร่งด่วน
       นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านหลวง อำเภอเวียงสา และอำเภอนาน้อย จึงได้สั่งการให้นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานไปยังผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว
      ขณะนี้มวลน้ำขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่อำเภอเมืองน่าน ทำให้ปริมาณน้ำในหลายพื้นที่มีระดับสูงขึ้น โดยที่อำเภอท่าวังผา เข้าสู่วิกฤต ระดับน้ำได้ล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถเก็บข้าวของหนีน้ำได้ทัน ทำได้เพียงย้ายรถยนต์หนีน้ำไปจอดไว้ที่เกาะกลางถนน โดยน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ใน 10 ตำบล 68 หมู่บ้าน โดยเฉพาะที่บ้านท่าวังผา หมู่ 2 และ หมู่ 7 และบ้านอาฮาม หมู่ 3 สบยาว หมู่ 4 ตำบลท่าวังผา ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ชาวบ้าน 500 กว่าหลังคาเรือน ถูกน้ำท่วม หลายหลังเป็นบ้านชั้นเดียว ต้องอพยพไปอาศัยอยู่บ้านญาติ และที่จุดอพยพที่ทางอำเภอจัดเตรียมไว้ และล้นทะลักเข้าท่วมถนนสาย 101 ซึ่งเป็นถนนสายหลัก ระดับสูงกว่า 1 เมตร รถยนต์ขนาดเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านสัญจรได้ นอกจากนี้ จุดตรวจวัด N 64 บริเวณบ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ระดับน้ำสูง 8.66 เมตร เพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 30 เซนติเมตร โดยเทศบาลเมืองน่าน ได้มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำและปิดประตูระบายน้ำทั้งหมดบริเวณริมน้ำน่าน
      ขณะที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติมีดินสไลด์ทับเส้นทางหลายจุด ส่วนบ้านป่าไคร้ บ้านนาเตา ตำบลริม อำเภอท่าวังผา น้ำท่วมถนนในหมู่บ้านไม่สามารถสัญจรไปมาได้ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งให้การช่วยเหลือ โดยคืนวานนี้ ตนพร้อมด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงเรือเข้าพื้นที่น้ำท่วมอำเภอท่าวังผา สำรวจความเดือนร้อนของชาวบ้าน พร้อมเร่งจัดอาหารและน้ำดื่มเข้าแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ติดค้างอยู่ในบ้านเรือน โดยมีทางมูลนิธิเพชรเกษมน่าน นำเรือเข้าไปส่ง และรับส่งชาวบ้านที่มีความต้องการออกมาข้างนอก
      ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ริมตลิ่ง พื้นที่ลุ่มต่ำระมัดระวัง เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด หากได้รับผลกระทบและยังไม่ได้รับการให้ความช่วยเหลือ แจ้งสายด่วนนิรภัย 1784 หรือ สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม ที่ 1567 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งให้การช่วยเหลือต่อไป


22 สิงหาคม 2567

       ผู้ว่าฯ น่าน แจ้งถึงบ้านเรือนพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมตลิ่ง ที่ลุ่มต่ำ กรุณายกของขึ้นที่สูง เตรียมอาหาร ยาประจำตัว พร้อมรับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้น โทร.สายด่วน 1669 ขอความช่วยเหลือ ตลอด 24 ชม.
 
       สถิติแม่น้ำน่านในตัวเมืองสูงสุดในรอบ 100 ปี วันที่ 22 ส.ค.67 เวลา 13.00 น. ณ กาดศรีคำ น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตย่านเศรษฐกิจและใกล้เคียง 

        นายกตี๋ สุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เผยปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน ล่าสุด N1 กาดแลง เมื่อเวลา 12.20 น. 22 ส.ค.67 อยู่ที่ 8.54 เมตร สูงกว่าระดับพนังกั้นน้ำและสูงกว่าสถิติน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ระดับ 8.42 เมตร  เทศบาลยังเร่งระบายน้ำออกจากตัวเมืองอย่างต่อเนื่อง คาดปริมาณน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น เตือนประชาชนเร่งขนย้ายสิ่งของจำเป็น​ อาทิเช่น​ รถยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า​ ฯลฯ​ ขณะที่ประชาชนรับทราบข่าวสารการแจ้งเตือนภัย มีการเตรียมการรับมือน้ำท่วมในครั้งนี้ในหลายพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองน่าน

        สายการบินนกแอร์ห่วงใยผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดน่าน เสนอมาตรการช่วยเหลือสำหรับผู้โดยสารที่มีเที่ยวบินเข้า-ออก ท่าอากาศยานน่านนครภายในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 

สายด่วนฉุกเฉิน ในพื้นที่ น่าน
  • แจ้งขอความช่วยเหลือกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 38 ได้ตามเบอร์โทร 054-774083   054-774084  054-774085  ต่อ 71237  หรือ ต่อ 71266
  • แจ้งเหตุประสบภัย สายด่วน 1784
  • สำนักงานปภ.น่าน 054-716174
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน PEA โทร.1129
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดน่าน 054-718120
  • กรมทางหลวง   1586    054-741379
  • เจ็บป่วยฉุกเฉิน.  1669.   
  • มณฑลทหารบกที่ 38.  054-775557
 

เชียงราย

 21 สิงหาคม 2567 

ThaiPBS รายงานน้ำป่าจากภูชี้ฟ้า ไหลหลากท่วม พื้นที่ใน ต.ตับเต่า และ ต.หงาว  อ.เทิง จากฝนที่ตกหนักตลอดทั้งคืน  มีหลายหมู่บ้าน ถนน สะพาน เสียหาย  น้ำเริ่มระดับวิกฤตรุนแรง น้ำแรง  เริ่มท่วมย่านเศรษฐกิจของเมืองแล้ว ระดับน้ำสูง บางจุดสูงกว่า 1 เมตร  ปริมาณน้ำมาจากอ.ภูซาง และอ.อื่นๆ   ปัจจุบัน 22 สิงหาคม 2567 ฝนหยุดตกแล้ว กลับเข้าสู่สภาวปกติ

NBT Connext  เชียงราย น้ำอิงท่วมเมืองเทิง-น้ำโขงหนุนสุดรอบหลายปี มีผู้ได้รับผลกระทบ 5,579 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 12,828 ไร่ ระดมกำลังทั้งทหารกองกำลังผาเมือง ทหารอากาศฝูงบิน 416 ฝ่ายปกครอง หน่วยกู้ภัย ให้ความช่วยเหลืองประชาชนเต็มที่. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังมีฝนตกติดต่อกันหลายสัปดาห์และน้ำจากแม่น้ำอิงที่ไหลผ่าน อ.เทิง และ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นปรากฎว่าล่าสุดได้เข้าท่วมเขต ต.เวียง อ.เทิง โดยเฉพาะชุมชนบนถนนสายเชียงราย-เชียงคำ น้ำได้ทะลักเข้าสู่ตลาด บ้านเรือน และห้างร้านต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากลำน้ำหงาวที่เคยเข้าท่วม ต.ตับเต่า อ.เทิง ได้ลดระดับลงแต่ได้ไหลลงสู่แม่น้ำอิงทำให้แม่น้ำอิงเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนของ อ.เทิง ดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านต่างระบุว่าเป็นเหตุอุทกภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นเช่นนี้มาก่อน เนื่องจากแม่น้ำอิงไหลระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้อย่างล่าช้า 
     ปภ.จ.เชียงราย รายงานว่ามีน้ำท่วมพื้นที่หมู่ 1=25 ในเขต ต.เวียว อ.เทิง นอกจากนี้ยังมีหมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 8 หมู่ 10 หมู่ 12 ต.ปล้อง หมู่ 1-7 ต.สันทรายงาม ส่วนืหมู่ 1-15 ต.ตับเต่า ระดับน้ำลดลง หมู่ 1-20 ต.หงาว และหมู่ 1-7 ต.หนองแรด ถนนสาย 1155 สายเทิง-ภูชี้ฟ้า,สายบ้ภูชี้ฟ้า อ.เทืง-บ้านพญาพิภักดิ์ อ.ขุนตาล ไม่สามารถใช้สัญจรได้และเกิดไฟดับเป็นวงกว้าง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมกำลังกันทั้งทหารกองกำลังผาเมือง ทหารอากาศฝูงบิน 416 ฝ่ายปกครอง หน่วยกู้ภัย ฯลฯ ขณะที่ตั้งแต่วันที่ 16 – 22 ส.ค.นี้ เกิดน้ำท่วมทั่ว จ.เชียงราย จำนวน 10 อำเภอ 30 ตำบล 221 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 5,579 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 12,828 ไร่ บ่อปลาแะบ่อกุ้ง 68 บ่อ



แพร่

21  สิงหาคม 2567 

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3
รายงาน พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำยม จ.แพร่ ที่อาจจะเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม ในเส้นทางที่น้ำยมไหลผ่านตั้งแต่อำเภอสองถึงอำเภอวังชิ้น ด้านวัดสวรรค์นิเวศและวัดจอมสวรรค์ เปิดประตูให้ประชาชนนำรถยนต์ไปจอดและเป็นศูนย์ช่วยเหลือน้ำท่วม

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตสส.แพร่ โพสต์ว่า 22 สิงหาคม น้ำท่วมจังหวัดแพร่แน่นอน  ดูจากตารางปริมาณน้ำ  วันที่21สิงหาคม เวลาตี1 ระดับน้ำสูงเพียง 7.15เมตร ผ่านไป10ชั่วโมง เวลา21.00ระดับน้ำ12.29เมตร เพิ่มขึ้นชั่วโมงละ30-40เซ็นติเมตร และอัตราเพิ่มของน้ำ ในแต่ละชั่วโมง ไม่ลดลงเลย ในขณะนี้ น้ำท่วมศูนย์วัดน้ำ ที่ต้นน้ำ จนไม่สามารถ วัดระดับน้ำได้อีกแล้ว  ไม่มีใครสามารถรายงานปริมาณน้ำที่แท้จริงได้อีกแล้ว จากประสบการณ์รับมือน้ำท่วมปี2538 ด้วยสถานการณ์แบบนี้  -เก็บของที่บ้านออกจากพื้นที่ -ย้ายรถตั้งแต่คืนนี้ เอาไปไว้ในที่สูงที่น้ำไม่ท่วม -ส่วนราชการช่วยชาวบ้านเก็บของตั้งแต่ก่อนน้ำท่วมได้แล้วครับ  ยังไงน้ำก็ท่วม

ปีนี้ น้ำอาจจะท่วมหนัก เป็นประวัติศาสตร์  เชื่อว่า ปีนี้ มีโอกาสน้ำท่วมหนักได้นะครับ แต่ก็อยู่ที่การไหลรวมตัวของมวลน้ำ พี่น้องประชาชน ทุกพื้นที่เสี่ยง ขอเตรียมตัวเอาไว้


22 สิงหาคม 2567

ศูนย์บริหารจัดการน้ำ จังหวัดแพร่  รายงานสถานการณ์แม่น้ำยม เวลา 14.00 น. วันที่ 22 สิงหาคม 2567
  • สถานี Y.20 บ้านห้วยสัก อ.สอง จ.แพร่  ระดับน้ำ 11.45 ม. จากระดับตลิ่ง 8.10 ม. ปริมาณน้ำ 1415.50 ลบ.ม./วิ ระดับน้ำ : ล้นตลิ่ง มีแนวโน้มลดลง 
  • สถานี Y.1C บ้านน้ำโค้ง อ.เมือง จ.แพร่ ระดับน้ำ 8.92 ม. จากระดับตลิ่ง 8.20 ม.ปริมาณน้ำ 1107.20  ลบ.ม./วิ   ระดับน้ำ : ล้นตลิ่ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  • สถานี Y.37 บ้านวังชิ้น อ.วังชิ้น จ.แพร่ ระดับน้ำ 8.97 ม. จากระดับตลิ่ง 11.00 ม. ปริมาณน้ำ 834.00 ลบ.ม./วิ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
     

21 สิงหาคม 2567 สทนช. สถานการณ์ฝนและน้ำท่วม

        21 ส.ค. 67  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. ) บูรณาการทุกหน่วยงานเฝ้าระวังปริมาณฝนตกหนักปลายเดือน ส.ค.- ก.ย. เตรียมทุกพื้นที่รับมวลน้ำเคลื่อนจากภาคเหนือลงสู่ภาคกลาง 
          สถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์นี้ เกิดร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกชุกในพื้นที่ภาคเหนือ  หลายพื้นที่ประสบภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และหากฝนยังคงตกกินเวลานานออกไปอาจจะเกิดเหตุดินโคลนถล่มได้
        จึงได้เน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงด้วย
         สทนช. ในฐานะผู้แทนของประเทศไทยในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) จะคอยติดตามสถานการณ์และแจ้งต่อคณะกรรมาธิการฯ ได้ทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเทศสมาชิก MRC จะได้พิจารณาการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัยจากปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนริมตลิ่ง และไม่ให้ส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จ.บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานีด้วย” 
       ช่วงปลายเดือน ส.ค. ถึงต้นเดือน ก.ย. มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดพายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลให้ลมมรสุมที่จะเข้าประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักเป็นบางแห่งในพื้นที่ภาคตะวันออกบริเวณ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด และพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกบริเวณ จ. ภูเก็ต ตรัง กระบี่ จึงได้ขอให้หน่วยงานต่างๆ เตรียมการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยให้เร่งพัฒนาระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพและกระจายข้อมูลต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ 
        สถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงเวลาที่ผ่านมาพบพื้นที่ประสบอุทกภัย 13 จังหวัด ซึ่งหลายจังหวัดกลับเข้าสู่ปกติแล้ว คงเหลืออีก 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ และบึงกาฬ โดยที่ประชุมได้คาดการณ์ว่าช่วงปลายเดือน สค. ยังมีร่องมรสุมพาดผ่านไทยแต่อาจเคลื่อนต่ำลงมาบริเวณภาคเหนือตอนล่าง จะส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำยมและลำน้ำน่านเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง สทนช. ได้เตรียมการรองรับล่วงหน้าไว้แล้ว โดยได้ลงพื้นที่ไปจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ที่ จ.สุโขทัย 
          นอกจากนี้ สทนช. ได้แจ้งเตือนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบริเวณชุมชนริมน้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำ ประกอบด้วยพื้นที่ จ.น่าน (อ.เมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ แม่จริม บ้านหลวง ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง สันติสุข บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง) จังหวัดแพร่ (อ.เมืองแพร่ เด่นชัย ลอง และวังชิ้น) จังหวัดสุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และศรีสำโรง) สำหรับบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่สำหรับตัดยอดน้ำที่จะลงมาเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และได้วางแผนควบคุมน้ำเพื่อลดพื้นที่รับผลกระทบ โดยแบ่งการระบายน้ำผ่านระบบชลประทานของพื้นที่เจ้าพระยาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในพื้นที่ จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร และกรณีหากเกิดพายุจรเข้ามาก็ขอให้ทุกหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการโดยการเก็บกัก หน่วงน้ำ และระบายออกให้เร็วที่สุด ให้เป็นไปตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน 2567 เพื่อเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงที่จะเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งให้มากที่สุดด้วย 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ

       หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมฝนหลวงและการบินเกษตร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร

พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 22 สิงหาคม 2567

image ext
image ext
 พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักมาก - แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน
 เสี่ยงฝนตกหนัก - ตาก ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสม ปลาย ส.ค. - ก.ย. 2567

       กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทสถานการณ์ฝนบริเวณประเทศจะเพิ่มขึ้น ภาคเหนือยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีตกหนักบางแห่ง ปัจจัยยังมาจากมรสุมที่พัดปกคลุม และหย่อมความกดอากาศต่ำยังปกคลุมภาคเหนือตอนบน

       22 - 25 ส.ค.67 ประเทศไทยตอนบนจะมีเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง ฝนตกหนักยังเกิดขึ้นทางด้านตอนบนของภาคเหนือ ภาคอีสาน  ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน  ในระยะนี้หลายจังหวัดของภาคเหนือมีสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากและมีน้ำท่วมขัง ดินโคลถล่ม ระดับน้ำในลุ่มน้ำสาขาต่างๆเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากยังมีฝนตกต่อเนื่อง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ลุมใกล้ลำน้ำต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมอพยพหากระดับสูงขึ้น ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง (รวม กทม.และปริมณฑล) การกระจายของฝนส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

       26-31 ส.ค.67 มรสุมเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ร่องมรสุมอาจเลื่อนต่ำลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคอีสาน ทำให้ทั่วไทยยังมีฝนบางแห่ง แนวโน้มของฝนในภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนจะเริ่มน้อยลงบ้าง แต่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน และภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) อาจมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
       ในช่วง 26-28 ส.ค. ต้องเตรียมรับมือฝนตกหนัก ติดตามและเฝ้าระวัง คลื่นลมแรงขึ้น    ระยะนี้ยังไม่พบสัญญาณการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนใกล้บริเวณประเทศไทย แต่ช่วงปลายเดือนคาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นได้บริเวณทะเลจีนใต้  

สทนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ช่วง 22-27 สิงหาคม 2567

image ext
image ext
        สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเฝ้าระวัง!!! น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน  ช่วงวันที่ 22-27 สิงหาคม 2567 เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและชุมชนริมแม่น้ำยม-น่าน  ขอให้เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ดังนี้
       แม่น้ำยม 
       จ.แพร่ ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ตั้งแต่บริเวณที่ลุ่มต่ำ อ.สอง ถึง อ.เมือง 1.00-2.00 ม.   ในช่วงวันที่ 22 – 27 ส.ค. 2567
       จ. สุโขทัย ขอให้หน่วยงานเฝ้าระวัง ร่วมบริหารจัดการน้ำ ผันน้ำ และควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.เมือง  ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
        แม่น้ำน่าน 
       จ.น่าน ระดับน้ำมีแนวโน้มล้นตลิ่งบริเวณนอกแนวคันกั้นน้ำที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) 
       บริเวณที่ลุ่มต่ำ อ.เมือง 1.00-1.50 ม. และ อ.เวียงสา 1.50-2.00 ม. ในช่วงวันที่ 22 – 27 ส.ค. 2567

ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

image ext
image ext
ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่  21  สิงหาคม 2567

New stories

all : eat | fun | travel | cannabis

Latest view

มีเรื่องอยากเล่า มีร้านอยากอวด มีกิจกรรมเด็ดๆ อยากโปรโมทเชิญชวน ส่งเรื่อง/ภาพมาที่ eatfuntravel.com@gmail.com