คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดิม) ดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 โดยสถาบัน มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งที่ได้รับการบรรจุไว้ในลำดับต้น ๆ ของแผนการจัดตั้ง คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ รวมถึงรองรับการให้บริการทางด้านดาราศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ของสถาบัน ให้ตรงตามความต้องการของทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ ให้สามารถเข้าถึงการให้บริการได้อย่างทั่วถึงและสามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สถาบันได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยแบ่งเป็น
1. โครงสร้างพื้นฐานด้านอาคารสถานที่สำหรับการให้บริการด้านวิชาการ ประกอบด้วย อาคารหอดูดาว
ที่มีกล้องโทรทรรศน์แบบต่างๆ เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า/อาคารท้องฟ้าจำลองที่มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน สำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย
เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 4 แห่ง
1. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร (Princess Sirindhorn AstroPark) ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริมจ.เชียงใหม่ – เริ่มเปิดให้บริการเป็นบางส่วน และคาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2563
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ภูมิภาค
2. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
(Regional Observatory for Public, Nakhon Ratchasima)
ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา เปิดให้บริการในปี 2557
3. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
(Regional Observatory for Public, Chachoengsao)
ตั้งอยู่ที่ ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการในปี 2561
4. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
(Regional Observatory for Public, Songkhla)
ตั้งอยู่ที่ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา เปิดให้บริการในปี 2562
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 1 แห่ง
1. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ฯ ขอนแก่น (Regional Observatory for Public, Khon Kaen) ตั้งอยู่ที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564)
2. โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ และอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับใช้ในการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า เพื่อการค้นคว้า วิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย
เปิดให้บริการแล้ว
[ 1 ] หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ (Thai National Observatory : TNO) ตั้งอยู่ที่ สถานีทวนสัญญาณทีโอที อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ – เปิดให้บริการแล้วในปี 2556 ( โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี )
[ 2 ] เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ (Thai Robotic Telescope Network : TRT)
หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory (CTIO) สาธารณรัฐชิลี
หอดูดาว Gao Mei Gu มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
หอดูดาว Sierra Remote มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
หอดูดาว SpringBrook นิวเซาว์เวลล์ (NWS) ออสเตรเลีย
หอดูดาว La Palma Observatory สเปน
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการเฝ้าติดตามวัตถุที่อาจมีภัยคุกคามต่อโลก บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ( ความร่วมมือระหว่าง สดร. กองทัพอากาศ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม )
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
[ 1 ] หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ( Thai National Radio Astronomy Observatory : TNRO ) ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย
[ 1.1 ] กล้องโทรทรรศน์วิทยุ ( ระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2560 – 2563 )
[ 1.2 ] อาคารควบคุมกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร พร้อมอาคารประกอบและระบบสาธารณูปโภค ระบบสาธารณูปการ ( ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2561 – 2563 )