Eat Fun Travel Latest view
Thumbnail imgxs

วัดหงษ์ ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งในระยะหลังในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการขอพร บนบาน หรือสาบานใดๆ ที่หากว่าใครกล่าววาจาสาบานใดไว้แล้วไม่มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติให้สมตามเจตนา แต่หลบเลี่ยงไม่ใส่ใจหรือเห็นเป็นเรื่องไม่จริงจัง อาจมีอันเป็นไปอย่างที่คาดไม่ถึงได้ ตามเรื่องราวที่เล่าขานกันไว้ต่อๆมา

image1
วัดหงษ์ หรือ วัดศีรษะแรด  ตั้งอยู่ที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งได้รับการค้นพบในราว พ.ศ. 1792 โดยท้าวศรีปาก (นา) และไพร่พลซึ่งตามแรดใหญ่มา จึงได้มีการตั้งรกรากในบริเวณนั้น แต่ก็ได้เสื่อมลงตามกาลเวลา ต่อมาในพ.ศ. 2200 พรานป่า 2 คนได้ตามหงส์เข้ามาในป่า ได้พบองค์พระเจ้าใหญ่ ซากเจดีย์ นอแรด และกระดูกแรด จึงชวนผู้คนมาตั้งรกราก ตั้งชื่อว่า บ้านศีรษะแรด และสร้างวัดชื่อ วัดหงษ์ และในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการขุดค้นพบพระปรางค์สูง 70 เซนติเมตร ในบริเวณวิหารพระเจ้าใหญ่อีกด้วย

       องค์พระเจ้าใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง มายาวนาน 

         กล่าวถึงพระเจ้าใหญ่ อันศักดิ์สิทธิ์นั้น  เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลาแลง หน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20  ร่วมสมัยกับศิลปะสกุลลาว ศิลปะล้านช้าง  พิจารณาจากรูปแบบพระเกศที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่พบได้ในภาคอีสานและในประเทศลาวเท่านั้น

        ประวัติองค์พระเจ้าใหญ่   เล่าว่าท้าวศรีปาก (นา) ท้าวทาทอง (ยศ) และท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา คนไทยเชื้อสายลาวและบริวารมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดมหา สารคาม มีนิสัยชอบเที่ยวป่าล่าสัตว์ ครั้งหนึ่งได้ยิงนกขนาดใหญ่และสวยงามมากตัวหนึ่งบริเวณสระบัว นกตัวนั้นบินมาตกตรงป่าด้าน ทิศตะวันออกจึงตามหา ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ด้วยความไม่เคยเห็นพระองค์ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ก็เกิดความปิติดีใจ แล้วสำรวจรอบบริเวณองค์พระ พบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม รอบองค์พระมีต้นตาล ทั้ง4 ทิศมีเถาวัลย์ ปกคลุมรุงรัง ด้านทิศตะวันออกพบ หนองน้ำขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏว่ามีคนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จึงกลับไปชักชวนญาติพี่น้องให้มาตั้งรกรากบริวเณนี้ ช่วยกันสร้างวัดและ ตั้งชื่อว่า "วัดหงษ์" ตามลักษณะของนกที่ถูกยิงตกบริเวณนั้น

             องค์พระมีอักษรขอมจารึกบนดินเผา อ่านได้เฉพาะคำหน้าว่า "พระเจ้าใหญ่..." จึงเรียกว่า "พระเจ้าใหญ่" ตั้งแต่นั้นมา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างกับเมืองพุทไธสง ราวปี พุทธศักราช 2200 อายุประมาณ 300 ปีเศษ

               ทุกปี เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสาม (กุมภาพันธ์-มีนาคม) ชาวบ้านจะจัดงานเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลองนี้ 5 วัน 5 คืน เป็นงานประจำปีที่จัดต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 70 ปี  

ข้อมูลและภาพจากเทศบาลนครพุทไธสง  การท่องเที่ยว  
 
 
 image2
 image3
 image4
 image5

วัดหงษ์ พระเจ้าใหญ่

image ext
image ext
 

งานเทศกาลปิดทองพระเจ้าใหญ่ ปีที่ 79 วันที่ 23-29 กุมภาพันธ์ 67

image ext
image ext
งานเทศกาลปิดทองพระเจ้าใหญ่ ปีที่ 79 วันที่ 23-29 กุมภาพันธ์ 67 ณ วัดหงษ์ บ.ศรีษะแรต ต.เฟือง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์  กิจกรรมในงาน ฟ้อนรำถวายบวงสรวง / ทำบุญปิดทองพระเจ้าใหญ่ / บูธกาชาด / สวนสนุก / ชิม ช้อป ร้านค้า อื่นๆ ชมการแสดงหมอลำ ฟรี ทุกคืน
23 ก.พ. 67 หมอลำเสียงวิหค นก พงศกร
24 ก.พ. 67 เบียร์ พร้อมพงษ์ & นุช ประทุมทอง & ยองบ่าง
25 ก.พ. 67 หมอลำ ศิลปินภูไท วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์
26 ก.พ. 67 หมอลำประถมบันเทิงศิลป์
27 ก.พ. 67 หมอลำอีสานนครศิลป์
28 ก.พ. 67 หมอลำระเบียบวาทะศิลป์
29 ก.พ. 67 หมอลำใจเกินร้อย บอย ศิริชัย&แอน อรดี  

ร่วมทำบุญ กฐินสามัคคี วัดหงษ์ พระเจ้าใหญ่

image ext
image ext
กฐินสามัคคี วัดหงษ์ พระเจ้าใหญ่ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพทอดกฐินตามคิวอาร์โคดพร้อมเพย์

New stories

all : eat | fun | travel | cannabis

Latest view

มีเรื่องอยากเล่า มีร้านอยากอวด มีกิจกรรมเด็ดๆ อยากโปรโมทเชิญชวน ส่งเรื่อง/ภาพมาที่ eatfuntravel.com@gmail.com