Eat Fun Travel Latest view
Thumbnail imgxs

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็น 1 ใน 10 อุทยานประวัติศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากรุงเทพราว 240 กิโลเมตร ขับรถไปได้ง่าย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจะเปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติดต่อสอบถามโทร. โทรศัพท์ 056-921322

 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็น 1 ใน 10 อุทยานประวัติศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นโดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากรุงเทพราว 240 กิโลเมตร ขับรถไปได้ง่าย
 
        อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจะเปิดให้บริการทุกวัน  ระหว่างเวลา  8.30-16.30 น.  โดยไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ สำหรับค่าธรรมเนียมเข้าชมนั้น ประชาชนชาวไทย  คนละ 20 บาท  ชาวต่างประเทศ  คนละ 100  บาท ทั้งนี้ จะยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมให้แก่พระภิกษุ  สามเณรในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนาอื่น  นักเรียน  นิสิตและนักศึกษาในเครื่องแบบนักเรียน  นิสิตและนักศึกษารวมทั้งครูอาจารย์ผู้ควบคุมในกรณีขอเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยประสานงานล่วงหน้า  และแขกผู้มีเกียรติที่กรมศิลปากรหรืออุทยานประวัติศาสตร์เชิญหรือต้อนรับ
 
          ในกรณีต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยขอวิทยากรนำชม สามารถติดต่อประสานงานได้โดยตรงที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ  ตำบลศรีเทพ  อำเภอศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์   67170  โทรศัพท์  056-921322  โทรสาร  056-921317

ข้อมูลท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจะเปิดให้บริการทุกวัน  ระหว่างเวลา  ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.  โดยไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ สำหรับค่าธรรมเนียมเข้าชมนั้น ประชาชนชาวไทย  คนละ ๒๐  บาท  ชาวต่างประเทศ  คนละ  ๑๐๐  บาท ทั้งนี้ จะยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมให้แก่พระภิกษุ  สามเณรในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนาอื่น  นักเรียน  นิสิตและนักศึกษาในเครื่องแบบนักเรียน  นิสิตและนักศึกษารวมทั้งครูอาจารย์ผู้ควบคุมในกรณีขอเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยประสานงานล่วงหน้า  และแขกผู้มีเกียรติที่กรมศิลปากรหรืออุทยานประวัติศาสตร์เชิญหรือต้อนรับ
 
          ในกรณีต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้าชมเป็นหมู่คณะโดยขอวิทยากรนำชม สามารถติดต่อประสานงานได้โดยตรงที่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ  ตำบลศรีเทพ  อำเภอศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์   ๖๗๑๗๐  โทรศัพท์  ๐๕๖ –๙๒๑๓๒๒     โทรสาร  ๐๕๖ –๙๒๑๓๑๗




############


           สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวและการศึกษาภายในอุทยานประวัติศาสตร์   เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจสามารถเดินทางเข้าชมเข้าศึกษาตามลำดับได้ดังนี้
 
          ศูนย์บริการข้อมูลเป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ  รวมทั้งการอนุรักษ์ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ภายในประกอบด้วยห้องประชุม หรือบรรยายสรุปก่อนการเข้าชมนิทรรศการเป็นหมู่คณะ ห้องนิทรรศการถาวรด้วยสื่อทันสมัย      ห้องสร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก  ส่วนจำหน่ายหนังสือ  เครื่องดื่มและของที่ระลึก  และอาคารปฏิบัติการทางโบราณคดีที่ใช้จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และบริเวณใกล้เคียง
 
 
อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดีเป็นอาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูก ช้าง ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยโครงกระดูกมนุษย์และสิ่งของเครื่องใช้ที่พบร่วมกันนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในระยะแรกเริ่มสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในเมืองโบราณศรีเทพที่มีมากว่า  ๒,๐๐๐  ปี  ก่อนที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมเมืองโดยการรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรตามลำดับ ส่วนโครงกระดูกช้างนั้นนับเป็นหลักฐานสำคัญประการหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้สอยโบราณสถานเนื่องใน  วัฒนธรรมทวารวดีสืบเนื่องมาถึงวัฒนธรรมเขมรในทางใดทางหนึ่ง  เนื่องจากมีการพบอยู่ในระดับเดียวกันกับฐานโบราณสถานชั้นล่างสุด
 
 
 
         อาคารวิชาการและห้องสมุด         เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี  รวมทั้งกิจกรรมด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ  ภายในประกอบด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนและห้องสมุด
 
 
 
 
 
 
 
          ปรางค์สองพี่น้อง  เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมร  มีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐสององค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน  หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  ทั้งสององค์ส่วนยอดพังทลายไปจนหมดสิ้นแล้ว  แต่องค์เล็กยังหลงเหลือทับหลังศิลาทรายที่มีสภาพสมบูรณ์ประดับอยู่จำหลักเป็นรูปอุมามเหศวร (พระอิศวรอุ้มนาง ปารพตี (อุมา) ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราชหรือนนทิ)  จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบทำให้อนุมานได้ว่าปรางค์สองพี่น้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ลัทธิไศวนิกายในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๗  แล้วต่อมาจึงได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่  ๗  (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๖๐) 
 
          ทั้งนี้  บริเวณทางเดินรูปกากบาทด้านหน้าปรางค์สองพี่น้องที่ต่อเชื่อมกับทางเดินโบราณนั้นได้มีการค้นพบเทวรูปพระอาทิตย์หรือสุริยเทพผู้เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความอบอุ่น  สลักจากศิลาทรายที่มีกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓  ซึ่งเมื่อนับรวมกับที่เคยพบมาก่อนแล้วอีก  ๕ องค์ ทำให้มีการพบทั้งหมดถึง  ๖  องค์  ซึ่งทั้งหมดมีกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๒ - ๑๓  (ปัจจุบันจัดแสดงและเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  กรุงเทพมหานคร  จำนวน  ๓  องค์  จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน  ไซมอน  สหรัฐอเมริกา  จำนวน  ๑  องค์  จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  สมเด็จพระนารายณ์  จังหวัดลพบุรี  จำนวน  ๑  องค์ และเก็บรักษาไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ  จำนวน ๑ องค์)  ซึ่งนับเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในศาสนาฮินดูที่เคารพนับถือในพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ อันจะมีพิธีกรรมบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีมหาสงกรานต์ที่มีการพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยปัจจุบัน
 
 
 
 
 
          ปรางค์ศรีเทพ   เป็นสถาปัตยกรรมเนื่องในวัฒนธรรมเขมรมีลักษณะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางด้านตะวันตกในแนวแกนเดียวกับปรางค์สองพี่น้อง  จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบโดยเฉพาะทับหลังทำให้อนุมานได้ว่าคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยเนื่องในศาสนาฮินดู (พราหมณ์)  ลัทธิไศวนิกายในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๖ - ๑๗   ต่อมาคงมีการพยายามซ่อมแซมดัดแปลงแต่ยังไม่แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  (พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๖๐)  เช่นเดียวกันกับปรางค์สองพี่น้อง เนื่องจากมีการพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่เป็นเพียงโกลนอยู่เป็นจำนวนมาก
 
 
 
          เขาคลังใน  เป็นศาสนสถานสำคัญประจำเมืองที่มีขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี     ที่สร้างขึ้นพร้อมกับสมัยแรกสร้างเมืองในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๒  เพื่อเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท แล้วต่อมาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานในราวพุทธศตวรรษที่  ๑๔  และคงใช้สอยตลอดมา จนกระทั่งเมืองถูกทิ้งร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีลักษณะก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก บริเวณฐานด้านทิศใต้และตะวันตกยังหลงเหลือประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระที่มีศีรษะเป็นบุคคลหรือสัตว์ต่างๆ สลับกับรูปสัตว์ในท่าแบกประกอบลายพันธ์พฤกษา  ซึ่งพบและหลงเหลือประดับอยู่ที่ฐานโบราณสถานเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยปัจจุบัน
 
 
 
          ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ   เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพ่อศรีเทพซึ่งเป็นที่เคารพเชื่อถือของชาวอำเภอศรีเทพและบริเวณใกล้เคียงเป็นอย่างมาก  โดยจะมีการจัดงานประเพณีบวงสรวงขึ้นทุกปีในระหว่างวันขึ้น ๒ - ๓ ค่ำ  เดือน  ๓ (ประมาณปลายเดือนมกราคม – ต้นเดือนกุมภาพันธ์)  เดิมศาลนี้จะตั้งอยู่นอกคันดินเมืองโบราณศรีเทพ  ต่อมาจึงได้ย้ายมาตั้งในบริเวณด้านในประตูแสนงอน (ประตูด้านทิศตะวันตก)  ที่เป็นทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในปัจจุบัน  ตัวศาลมีลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทยสองหลัง  อาคารด้านหน้าใช้เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อศรีเทพ  ส่วนอาคารด้านหลังใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์สร้างขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๔๕  สำหรับองค์เจ้าพ่อนั้นเดิมได้ใช้ประติมากรรมรูปเคารพที่ได้จากเมืองโบราณศรีเทพมาประดิษฐานเป็นองค์สมมติ แต่ต่อมาประมาณปี  พ.ศ.  ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕  องค์เจ้าพ่อนั้นได้ถูกโจรกรรมไป  ประชาชนที่เคารพนับถือจึงได้แกะสลักองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ตามจินตนาการและ  ความเชื่อเพื่อใช้เป็นรูปเคารพประจำศาลเจ้าพ่อศรีเทพสืบมาจนเท่าถึงปัจจุบัน
 
          นอกจากนี้บริเวณด้านนอกเมืองยังมีโบราณสถานที่มีคุณค่าและน่าสนใจอีก  ๒  แห่ง ได้แก่
 
          เขาคลังนอก  เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งอยู่นอกเมือง ไม่สุภาพงออกไปราว ๒ กิโลเมตร  สันนิษฐานว่ามีลักษณะเป็นมหาสถูป มีฐานขนาดใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ก่อด้วยศิลาแลงที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ประดับตกแต่งฐานด้วยอาคารจำลองขนาดต่างๆอยู่โดยรอบ  ภายในทึบตัน มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน มีสถูปก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ด้านบนล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและซุ้มประตู  สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับโบราณสถานเขาคลังในที่ตั้งอยู่ภายในเมือง คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ –๑๔      ถือได้ว่าเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์มากที่สุดในบรรดาศาสนสถานที่ร่วมสมัยเดียวกัน
 
 
 
          ปรางค์ฤาษี      ตั้งอยู่นอกเมืองศรีเทพ ไม่สุภาพงออกไปราว ๓ กิโลเมตร  เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเขมรโบราณ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนัก และมีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน  ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง  พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์  ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ
 
          สันนิษฐานว่าปรางค์ฤาษีน่าจะมีอายุเก่ากว่า หรือร่วมสมัยกับโบราณสถานปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้อง  ที่ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณศรีเทพ  ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
 
 
 
   

New stories

all : eat | fun | travel | cannabis

Latest view

มีเรื่องอยากเล่า มีร้านอยากอวด มีกิจกรรมเด็ดๆ อยากโปรโมทเชิญชวน ส่งเรื่อง/ภาพมาที่ eatfuntravel.com@gmail.com